มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการศึกษาจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร (ชมคลิปคลิกๆ )

มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการศึกษาจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=ICtNeirI1_4[/embedyt]

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561 เวลา09:30 น. ณห้องประชุมไมดาส 6 ชั้น 9 โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน กรุงเทพ
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ประธานในพิธี พร้อมด้วย, รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยและพัฒนาบูรณาการเกษตร และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร,
นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนา, ภาคเอกชน,สถาบันเกษตรกร ด้านรศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยและพัฒนาบูรณาการเกษตร และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีมติเห็นชอบเรื่องมาตรการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารบ้านเมืองที่ดี พ. ศ. 2546

โดยให้มีการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าเกษตรและอาหาร ของหน่วยงานต่างๆ ให้แก่หน่วยงานภาคเอกชน หรือหน่วยงานภาคอื่นๆ เข้ามาดำเนินการแทน ทั้งนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้มีแนวคิดที่จะจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร จึงมอบหมายให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา เพื่อศึกษาวิเคราะห์ ข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียน, เพื่อศึกษาและยกร่างจัดตั้งกองทุนหมุนเวียน เพื่อการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ทั้งนี้ ได้มีการจัดการสัมมนาโครงการ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในวันนี้ จะเป็นกิจกรรมสืบเนื่องอันมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1. ผลการศึกษาด้านรูปแบบและโครงสร้างองค์กร 2. ผลการศึกษาด้านกฎหมายและร่างระเบียบการบริหารจัดการกองทุนหมุนเวียน 3, เปิดโอกาสหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร และผู้เข้าร่วมการประชุม ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ ต่อผลการศึกษาในโครงการดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการกำหนดรูปแบบการจัดตั้งองค์กร เพื่อบริหารจัดการด้านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร และประเทศชาติต่อไป

 

ภาพ/ข่าว ขวัญชัย วาจาพารวย รายงาน

admin Author